- หน้าแรก
- ข้อมูล อบต.
- ยุทธศาสตร์/แผนงาน
- ผลงานเด่น
- รายงาน
- ข่าว อบต.
- ฐานข้อมูลเปิดภาครัฐ
- ภาพกิจกรรม
- ผลิตภัณฑ์ตำบล
- แหล่งท่องเที่ยว
- ปฏิทินกิจกรรม
- กระดานสนทนา
- ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร
- คู่มือประชาชน
- งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
- เเจ้งเรื่องราวร้องทุกข์
- รัองเรียนการทุจริต
- ขอใช้บริการระบบแจ้งการตัดต้นไม้
- ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์
- ศูนย์ข้อมูลข่าวอิเล็กทรอนิกส์ของราชการ

-
องค์การบริหารส่วนตำบลควนโส จังหวัดสงขลา
ชื่อ ควนโส เดิมชื่อว่า "ควนสูง" เป็นชื่อที่ผู้คนใช้เรียกกัน เนื่องจากตามสภาพที่ตั้งของตำบลสูงเด่นอยู่ทางทิศตะวันตกของทะเลสาบสงขลา สามารถมองเห็นได้ชัดเจนขณะใช้เส้นทางเดินเรือ แต่เดิมนั้นสภาพควนสูงแห่งนี้เป็นป่าดึกดำบรรพ์ มีต้นตะเคียนขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เช่น กระจง เป็นต้น พื้นที่ราบทางทิศเหนือมีสภาพอุดมสมบูรณ์ มีลำคลองขนาดใหญ่ไหลออกสู่ทะเลสาบสงขลา เหมาะสำหรับใช้เป็นเส้นทางคมนาคม การเกษตรและการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นอย่างยิ่ง แต่เดิมหน้าวัดควนโสเป็นที่ตั้งของตลาดที่มีชื่อเสียงมากในสมัยนั้นพอ ๆ กับตลาดนัดบ้านกรอบของตำบลรัตภูมิ (บ้านควนเนียง)
แต่เดิมนั้นบริเวณรอบควนสูงแห่งนี้ไม่ค่อยมีผู้คนอาศัยอยู่ มีพระภิกษุรูปหนึ่งเดินทางมาจากบ้านจะนะ เพื่อหาสถานที่สงบเงียบสำหรับการบำเพ็ญเพียรภาวนาและได้พำนักอยู่ที่ควนสูงแห่งนี้เป็นเวลานานหลายปี หลังเสร็จการบำเพ็ญเพียรภาวนาก็เดินทางกลับที่จะนะ พร้อมกับนำเรื่องราวความอุดมสมบูรณ์ของบ้านควนสูงและพื้นที่ราบทางด้านทิศเหนือไปเล่าให้ชาวบ้านที่จะนะฟัง ทำให้ชาวบางส่วนเกิดความสนใจและได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งที่พักอาศัย ณ ที่ราบดังกล่าว พร้อมกันนั้นได้นิมนต์พระภิกษุรูปดังกล่าวเดินทางนำพวกชาวบ้านกลุ่มดังกล่าวมา การเดินทางครั้งนี้ใช้ช้างเป็นพาหนะในการเดินทาง ในตอนราบทางทิศเหนือของควนสูงชาวบ้านได้ร่วมมือกันสร้างสำนักสงฆ์พร้อมกันนั้นได้นิมนต์ให้พระธุดงค์ได้จำพรรษา ณ สำนักสงฆ์นั้น ซึ่งปัจจุบันคือ วัดควนโส และนับได้ว่าชนกลุ่มแรกที่อาศัยอยู่บนดินแดนควนสูงแห่งนี้ก็คือชาวจะนะ จากบ้านควนสูงซึ่งต่อมาได้ถูกเรียกเพี้ยนไปจนกลายเป็น บ้านควนโส ติดปากถึงปัจจุบัน จากความอุดมสมบูรณ์ของบริเวณรอบ ๆ ของควนสูงนี้ทำให้ผู้คนจากชุมชนใกล้ ๆ อพยพมาตั้งถิ่นฐานใกล้เคียงกับชุมชนบ้านควนโสมากยิ่งขึ้น เช่น บ้านเกาะขาม บ้านผลุ้ง บ้านนาลิง บ้านโคกทราย บ้านบ่อหว้า บ้านท่าม่วง เป็นต้น และได้มีการติดต่อระหว่างชุมชนมากขึ้น แต่ชุมชนมีประชากรมากขึ้นทางราชการจึงได้มีการแต่งตั้งผู้ปกครองชุมชนให้มีหน้าที่ดูแลทุกสุขของประชาชน มีการจัดเก็บภาษี รวมทั้งเกณฑ์คนในหมู่บ้าน ชุมชน ร่วมกันทำนาเพื่อเก็บผลผลิตส่งให้ทางราชการเพื่อเป็นเสบียงต่อไป ในตอนแรกเริ่มแต่ละชุมชนเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ในปี พ.ศ. 2435 ทางราชการจึงได้จัดระเบียบการบริหารใหม่เพื่อให้เป็นระเบียบในการปกครองและการจัดเก็บภาษี โดยรวบรวมชุมชนต่าง ๆ ที่ตั้งรอบ ๆ ควนสูงเข้ารวมเป็นตำบลเดียวกัน เรียกว่าตำบลควนโส ซึ่งในขณะนั้นทางราชการได้แต่งตั้งข้าราชการจากจังหวัดมาปกครองดูแล โดยกำหนดให้ตำบลควนโสขึ้นกับการปกครองของอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
หลวงกัลยา กับยาศิริ (ต้นตระกูลกัลยาศิริ) เป็นข้าราชการคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาปกครองดูแลตำบลควนโส โดยได้รับค่าบำเหน็จเป็นเบี้ยหวัด ได้รับศักดินาเป็นนามากมายเพื่อความสะดวกในการเกณฑ์คนไปทำนา หลวงกัลยาจึงได้สร้างที่พักของตนเองและคนงาน บนที่ดอนริมคลองควนโสหลายหลัง ชาวบ้านจึงได้เรียกที่พักเหล่านั้นว่า ทำเนียบ (ปัจจุบันบ้านทำเนียบเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ที่ 3 บ้านควนโส) หลวงกัลยาต้องย้ายครอบครัวมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านหลา (หมู่ที่ 3 บ้านควนโส) พร้อมทั้งบริวารอีกหลายคน นอกจากหน้าที่ในการดูแลทุกข์สุขของประชาชนในตำบลควนโสแล้ว หลวงกัลยายังมีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมภาษีและเกณฑ์คนไปทำนาหลวง ปัจจุบันนาหลวงเป็นกรรมสิทธิ์ของชาวบ้านหมู่ที่ 3 ตำบลควนโส) เพื่อนำผลผลิตที่ได้จากการทำนาหลวงเป็นเสบียง ส่งทางราชการ มีการสร้างฉางข้าวเพื่อเป็นที่เก็บข้าวก่อนส่งให้กับทางราชการในหน้าน้ำหลากโดยทางเรือแจวขนาดใหญ่ ผ่านคลองควนโสออกสู่ทะเลสาบสงขลาที่บ้านปากจ่าไปยังอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2435 ตำบลควนโสได้เปลี่ยนการปกครองขึ้นกับอำเภอรัฐภูมี จังหวัดพัทลุง ซึ่งที่ ว่าการอำเภอตั้งอยู่ที่บ้านปากบางภูมี ในปี พ.ศ. 2466 ได้ย้ายที่ตั้งอำเภอรัฐภูมี จากบ้านปากบางภูมีไปตั้งที่บ้านกำแพงเพชรและได้เปลี่ยนชื่อจาก อำเภอรัฐภูมี เป็นรัตภูมิ ขึ้นกับจังหวัดพัทลุง ต่อมาปี พ.ศ.2509 อำเภอรัตภูมิเปลี่ยนมาขึ้นกับการปกครองจังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 และกระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะตำบลรัตภูมิ ตำบลบางเหรียง ตำบลควนโสและตำบลห้วยลึก จากอำเภอรัตภูมิเป็น กิ่งอำเภอควนเนียง และเป็นอำเภอควนเนียงในปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน
-
วิสัยทัศน์ของของการพัฒนา
“การบริหารงานยึดหลักธรรมาภิบาล ในการพัฒนาท้องถิ่น”
พันธกิจ
1. จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำ
2. ส่งเสริมการประกอบอาชีพของประชาชน และกลุ่มอาชีพ กลุ่มองค์กรต่างๆ
3. ส่งเสริมการศึกษา
4. พัฒนาให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
5. จัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร
6. จัดให้มีสาธารณูปโภค และสาธารณูปการด้านโครงสร้างพื้นฐาน
7. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
8. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
9. ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
10. ป้องกันและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
11. บำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
